สืบเนื่องจากวันที่ 14 สิงหาคม 2537 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒนรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดําริกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. ในขณะนั้น ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ให้จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อทดลองปลูกและฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน เพื่อให้ระบบนิเวศป่าชายเลนกลับคืนสู่ธรรมชาติต่อมา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2537 ได้เสด็จพระราชดําเนินทรงปลูกป่าชายเลนชนิดต่างๆ ที่คลองบางตราใหญ่ และคลองบางตราน้อย และได้พระราชทานพระราชดําริเพิ่มเติมกับผู้กํากับการ 1 กองบังคับการฝึกพิเศษในขณะนั้น ให้ดําเนินการหาวิธีที่จะดูแลรักษาให้ต้นไม้ชายเลนที่ปลูกไว้นี้อยู่รอดและ ให้ดําเนินการปลูกป่าชายเลนต่อไปในพื้นที่ที่เหลืออยู่ทั้งสองแห่งที่บริเวณคลองบางตราใหญ่และคลองบางตราน้อย
และเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2541 ขณะที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินมาทรงจักรยาน และทรงวิ่งออกกําลังพระวรกาย บริเวณค่ายพระรามหก ได้ทอดพระเนตรสภาพดินและพื้นที่รกร้างที่มีคราบเกลือบนพื้นดิน จึงได้พระราชทานพระราชดําริกับท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ให้หาทางฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมดังกล่าวให้เป็นพื้นที่สีเขียวและมีความสวยงาม ตามธรรมชาติเพื่อใช้เป็นพื้นที่นันทนาการและเป็นพื้นที่สําหรับศึกษาระบบนิเวศที่ได้ปรับตัวหลังจากมีการปรับปรุงพื้นที่แล้ว
จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2543 กองบัญชาการตํารวจตระเวนชายแดน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดําริ และมูลนิธิพระราช นิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราช สุดา สิริโสภาพัณณวดีจึงได้ร่วมกันจัดตั้ง “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ” ณ ค่ายพระรามหก อําเภอชะอํา จังหวัด เพชรบุรี เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราช เจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพรยพัฒน รัฐสีมา คุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่เจริญพระชนมายุครบ 4 รอบ ในปีพุทธศักราช 2546 โดยมีแนวทางในการดําเนินการตามแนวพระราชดําริและพระราชกรณียกิจ ที่ได้เสด็จพระราชดําเนินมาทรงงานในบริเวณค่าย พระรามหก เป็นแนวทางในการดําเนินงานให้อุทยานฯ เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ ธรรมชาติที่มีชีวิต
โดยมุ่งหวังว่าเมื่ออุทยานฯ แห่งนี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว จะเป็น สถานที่เผยแพร่พระเกียรติ คุณและพระปรีชาสามารถในด้านการอนุรักษ์ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นที่ประจักษ์ ทั้ง ชาวไทยและชาวต่างประเทศ และจะเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ทางด้านการฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ตลอดจนเป็นสถานที่ส่ง เสริมการท่องเที่ยว เชิงนิเวศและเชิงประวัติศาสตร์ อันทรงคุณค่าของประเทศไทยและของโลก
ต่อมาเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระ นามาภิไธยเป็นนามอุทยานว่า “อุทยานสิ่ง แวดล้อมนานาชาติสิรินธร” (The Sirindhorn International Environmental Park) และพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย “สธ” ประดับตราสัญลักษณ์ ของอุทยาน
อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร บริหารจัดการโดยมูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราช เจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีนายสุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานกรรมการก่อตั้ง มูลนิธิฯ เพื่อให้ดําเนินงานไปตามแนวทางพระราชดําริ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อยู่ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2555เป็นต้นมา
นอกจากนี้ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราช เจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิริน ธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จพระราชดําเนินมาทรงเปิดอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรอย่าง เป็น ทางการ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2551 นําความปลาบปลื้มมาสู่คณะผู้บริหาร และบุคลากร ตลอดจน หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนการดําเนินงานตามแนวทางพระ ราชดําริของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรเป็นอย่างยิ่ง
Dislike men who are so beguiled demoralized by the charms.
There are many variations of passages like lorem ipsums available but that majority have suffered alteration in some form.
ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมด้านการฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการอนุรักษ์พลังงาน ตามแนวพระราชดำริ
เลขที่ 1281 ค่ายพระรามหก ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120